เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 4. มหาจุนทสูตร
(ความปรารถนาอันชั่ว ที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็ไม่ได้ แต่พึง
เห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้)
หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ...
มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้า
ครอบงำภิกษุนั้นได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โลภะ
จะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้ ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้
ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ...
ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความ
ปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้
หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นไม่ได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ
... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้า
ครอบงำภิกษุนั้นไม่ได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่โลภะ
จะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้ ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัด
อย่างที่โทสะ โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยา
อันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความปรารถนา
อันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้” อย่างนี้แล
กายสูตรที่ 3 จบ

4. มหาจุนทสูตร
ว่าด้วยพระมหาจุนทะ
[24] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่สหชาติวัน แคว้นเจตี ณ ที่นั้นแล
ท่านพระมหาจุนทะได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่า
นั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาจุนทะจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าวว่า “เรารู้ธรรมนี้
เราเห็นธรรมนี้” หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ...
อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ความปรารถนาอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :52 }